รีวิวหนังสือ: "Leading Snowflake" โดย โอเรน เอเลนบอเกน
ผมได้รู้จักหนังสือเล่มนี้ครั้งแรกจากการแนะนำของเจ้านายเก่าซึ่งเป็นชาวอังกฤษ ในช่วงนั้นผมได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นมาจาก developer เป็น engineering manager ได้สัก 3-4 เดือนแล้วก็จะมีปัญหามากมายเลยเวลาเข้า 1-1 meeting ก็จะบ่นกับเจ้านายตลอด เจ้านายก็เลยส่งหนังสือเล่มนี้มาให้ เพื่อไปให้ทำความเข้าใจซะ
หลังจากได้ผ่านหนังสือเล่มนี้แล้วบอกเลยครับว่าชีวิตดีขึ้นเยอะ อย่างน้อยก็ได้รู้ว่าปัญหาที่เราเจอเนี่ยมัน common มากๆสำหรับทุกคนที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน คนที่เพิ่งเลื่อนตัวเองจากการเป็น developer ไปเป็น manager/team lead
หนังสือเล่มนี้ผมให้ 5 ดาวเลยครับ ถือว่าเป็นหนังสือที่ engineering manager หรือ team lead ทุกคนต้องอ่าน
ประวัติผู้เขียน
โอเรน เอเลนโบแกน (Oren Ellenbogen) เป็นชาวอิสราเอล เคยทำงานเป็นซอฟต์แวร์ engineer ให้บริษัท startup 3-4 บริษัทซึ่งก็ได้ทำงานอยู่ในหลายตำแหน่งเช่นเทคนิค engineering manager แล้วก็ director of engineering
ในปัจจุบันโอเรนดำรงตำแหน่ง Senior Vice President (SVP) อยู่ทีบริษัท Forter ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับ identity intelligence ชั้นนำบริษัทหนึ่งของโลก
เพิ่มเติม
สไตล์การเขียน
เข้าใจง่ายแม้ไม่เชี่ยวภาษาอังกฤษ โอเรนใช้คำศัพท์และลักษณะการเขียนที่เข้าใจง่ายครับแม้จะเป็นคนอ่านที่ไม่ใช่ native speaker อย่างเราๆ สิ่งที่ผมชอบมากในการเขียนของ โอเรน คือเขาจะเริ่มต้นด้วยการให้ objective ของแต่ละบทว่าเราจะได้เรียนรู้อะไรจากบทนั้นๆบ้าง
แบ่งหัวข้อย่อยให้เข้าใจง่าย การแบ่งเนื้อหาภายในบทผู้เขียนก็จะเริ่มต้นด้วย การตั้งหัวข้อที่ทำให้เรารู้ว่าเนื้อหาที่เราจะอ่านจะประมาณไหนบ้าง นอกจากนั้นเนื้อหาในแต่ละหัวข้อก็จะไม่เยอะเกินไป ทำให้เราจัดสรรสิ่งที่เราจะต้องทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
สรุปสิ่งที่ควรจะนำไปใช้ในท้ายบท ที่ผมชอบที่สุดก็คือตอนท้ายบท ผู้เขียนจะมีสรุป tasks list ประจำบท ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านแน่ใจว่าได้นำทฤษฎีไปใช้ปฏิบัติจริง ผมยกตัวอย่าง tasks list จากบท “Switch between Manager and Maker mode” ให้ดูข้างล่างนะครับ
สาระสำคัญของหนังสือ
สาระสำคัญหลักๆของหนังสือเล่มนี้ก็คือเป็นคู่มือให้ engineering manager มือใหม่ซึ่งในที่นี้ครอบคลุมไปถึง technical leader ใน role ต่างๆด้วย
ผู้เขียนจะใส่ประสบการณ์ของความ “โดดเดี่ยว” ที่ตัวเองได้เจอตอนที่ขึ้นมาเป็น manager และเล่าถึงวิธีการที่จะจัดการปัญหาเหล่านั้น
หนังสือเล่มนี้จะช่วยผู้อ่านในการปรับ mindset จากการเป็นคนทำงานและวัดผลสำเร็จด้วยจำนวนงานที่ทำ มาเป็นการ support ให้ทั้งทีมทำงานได้อย่างราบรื่นและตรงตามเป้าหมายของบริษัท
ผู้เขียนตระหนักดีว่าการสั่งอย่างเดียวโดยไม่เข้าใจเนื้อหารายละเอียดของงานเลยจะทำให้เป็นผู้จัดการที่ไม่ดีนัก ดังนั้นในบทแรกๆ ผู้เขียนจะเน้นย้ำไปที่การบริหารจัดการเวลาของตัวเอง จะช่วย balance การทำงานที่เป็น big picture รายการลง detail เพื่อเข้าใจรายละเอียด
ในบทหลังๆ ผู้เขียนจะอธิบายวิธีการในการสนับสนุนและการสร้างคน ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการสอนงาน การวัดคุณภาพงาน ฯลฯ โดยที่ตัว manager เองจะไม่สูญเสียรายละเอียดที่จะช่วยให้ทีมส่งงานได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
สรุป
หนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งใน most recommended ที่อยู่ใน list ของผมในการที่จะแนะนำให้น้องๆผู้ซึ่งกำลังได้รับการโปรโมทเป็น manager หรือ technical leader จะต้องอ่านครับ
เดี๋ยวผมจะทำบทความสรุปหนังสือแล้วมาโพสต์ไว้ในบล็อกอีกทีนึง ถ้าใครสนใจจะสนับสนุนผู้เขียน สามารถไปซื้อหนังสือได้ตามลิงค์นี้เลยครับ
สอบถาม ติชม เสนอแนะ ได้ที่ช่อง comment ด้านล่างเลยครับ